ภัยจากน้ำ



อุทกภัย ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด
    1. อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน
    2.  อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร
อ่านต่อhttp://202.28.94.60/webcontest/2554/5448/untitled4.html











ประกาศเตือนภัย
"สภาวะน้ำท่วมในภาคใต้"
ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2554
     เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (31 มี.ค. 54) หย่อมความกดอากาศต่ำที่เคลื่อนมาปกคลุมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และกระบี่ เริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ได้ในวันนี้ หลังจากนั้นปริมาณฝนจะลดลง จึงขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล ยังคงต้องระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากต่อไปอีก ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะ 1-2 วันนี้ไว้ด้วย สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานคร มีอากาศเย็นต่อไปอีก 1-2 วัน แต่อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้นในตอนกลางวัน


อ่านต่อ

http://www.cityvariety.com/index.php?cmd=news&id=100000057&cate=2







ภาพถ่ายทางอากาศแสดงพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดนนทบุรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2011
แหล่งข่าวจากสำนักป้องกันภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า .. มีคนอย่างน้อย 269 คนที่เสียชีวิตเนื่องจากการที่ฝนตกหนัก น้ำท่วม และแผ่นดินถล่ม ซึ่งเกิดขึ้นใน 27 จังหวัดของประเทศไทยมาตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม

อ่านต่อ
http://www.oknation.net/blog/supawan/2011/10/13/entry-1












 
สื่อดังมะกันชี้ น้ำท่วมใหญ่ในไทยเกิดเพราะฝีมือมนุษย์ ยอดเหยื่อพุ่งอย่างน้อย 283 ศพ

นิวยอร์ก ไทม์ส หนังสือพิมพ์รายวันเก่าแก่ของสหรัฐฯระบุ เหตุน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษของไทย มีสาเหตุหลักมาจากการกระทำของมนุษย์ ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในไทยจากภัยพิบัติครั้งนี้ตามรายงานของสื่อต่างประเทศหลายสำนักเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 283 ราย...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 14 ต.ค.ว่า นิวยอร์ก ไทม์ส หนังสือพิมพ์รายวันเก่าแก่ของสหรัฐฯ ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1851 ระบุ เหตุน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษของไทย มีสาเหตุหลักมาจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้ภัยธรรมชาติตามปกติกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตในไทยจากภัยพิบัติครั้งนี้ตามรายงานของสื่อต่างประเทศหลายสำนักเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 283 รายแล้ว
รายงานของหนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งอ้างแหล่งข่าวที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรน้ำรายหนึ่งระบุว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปีในไทย เกิดจากหลายสาเหตุที่ล้วนแล้วแต่มีที่มาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า การเพิ่มจำนวนของสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่ควรสงวนไว้สำหรับรองรับน้ำตามธรรมชาติ  การผันน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติไปใช้ประโยชน์แบบขาดความเหมาะสม การขยายตัวของเขตเมือง และการบริหารจัดการที่ย่ำแย่จากภาครัฐ
ขณะเดียวกัน สื่อต่างประเทศหลายสำนักต่างรายงานว่า เหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทยซึ่งกินพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 26 จังหวัดจาก 77 จังหวัด ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 283 ราย นอกจากนั้น คนไทยอีกมากกว่า 110,000 ราย ต้องหนีออกจากบ้านเรือนของตนไปอาศัยอยู่ตามศูนย์อพยพชั่วคราวต่างๆ ขณะที่กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยที่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน กำลังสุ่มเสี่ยงที่จะถูกน้ำจากตอนบนของประเทศไหลเข้าท่วม.

อ่านต่อ


การรับมือกับปัญหาน้ำนับเป็นความท้าทายที่ไม่สิ้นสุด รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ดำเนินการโครงการเดลต้าเวิร์ค (Delta Works)  ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างต่อเนื่องแล้วเสร็จในปี 1997 เพื่อป้องกันเนเธอร์แลนด์จากน้ำทะเล ปัญหาใหม่ๆเช่นสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์แต่งตั้งคณะกรรมการเดลต้าชุดใหม่ขึ้นในเดือนกันยายน 2007 เพื่อเตรียมการรับมือกับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและเพื่อปรับเปลี่ยนแผนแม่บทของชาติให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าประเทศเนเธอร์แลนด์จะปลอดภัยในเวลานี้ แต่การป้องกันภัยในระยะยาวจะต้องเริ่มปฏิบัติการนับตั้งแต่บัดนี้ คณะกรรมการดังกล่าวซึ่งมีศาสตราจารย์ Veerman (1) เป็นประธานได้นำเสนอแผนโครงการเดลต้าต่อคณะรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ โครงการดังกล่าวได้ผ่านสภาเป็นพระราชบัญญัติเดลต้าหลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันดำเนินการโครงการดังกล่าว กองทุนเดลต้าถูกตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการซึ่งต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในช่วงระยะเวลาหลายปี โครงสร้างแบบบูรณาการของโครงการเดลต้านั้นหมายความว่านอกจากหน่วยงานหลายๆกระทรวงในรัฐบาลกลางแล้ว หน่วยงานอื่นๆในระดับท้องถิ่น จังหวัด เทศบาลและคณะกรรมการด้านน้ำต่างๆ ได้ร่วมมือกันอย่างแข็งขันในโครงการนี้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย สถาบันวิชาการและบริษัทต่างๆ ล้วนมีบทบาทสำคัญในโครงการนี้เช่นกัน จากประสบการณ์ของประเทศเนเธอร์แลนด์แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งสำคัญเสมอไป เคล็ดลับความสำเร็จของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่ใช่เพียงแค่ความแข็งแกร่งของเขื่อนหรือทำนบกั้นน้ำ แต่เป็นเรื่องการจัดการและบริหารงบเรื่องน้ำด้วย วิธีการที่เราใช้ในการตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นเพื่อทำงานอย่างบูรณาการและผลักดันแผนนี้เข้าในนโยบายของรัฐบาลอาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะดำเนินรอยตาม ซึ่งในกรณีของเรานั้นได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม


แน่นอนว่าประเทศไทยจะต้องวางแนวทางของตนเองในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ แต่ขอให้มั่นใจได้ว่าไทยสามารถพึ่งพาเนเธอร์แลนด์เพื่อช่วยเหลือในการรับมือกับความท้าทายนี้ได้เสมอ เพราะนั่นคือสิ่งที่มิตรประเทศอย่างเราจะทำ
ได้



อ่านต่อ