ภัยจากลม




วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้

สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุฤดูร้อน (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
ก่อนเกิดวาตภัย
อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน
ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว
ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยการมองเห็นระยะไกลไม่ชัดเจน
เมฆมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศร้อนอบอ้าว
ขณะเกิดวาตภัย
พายุลมแรง 15-20 นาที ความเร็วมากกว่า 50 กม./ช.ม
เมฆทวีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลมกระโชกแรงเป็นครั้งคราว มีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บ ฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ถ้านับในใจ 1-2-3 แล้ว ได้ยินเสียงฟ้าร้อง และพายุจะห่างไปประมาณ 1 กม. ถ้าเห็นฟ้าแลบและฟ้าร้องพร้อมกัน พายุจะอยู่ใกล้มาก
สภาวะนี้จะอยู่ประมาณ 1 ชม.
หลังเกิดวาตภัย
พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส ทัศนวิสัยชัดเจน

การป้องกันพายุฤดูร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง

1.2 วาตภัยจากพายุฤดูหมุนเขตร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อน มีศูนย์กลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ มองเห็นได้จากภาพเมฆดาวเทียม เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำดับความรุนแรง

เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของพายุเขตร้อนเป็น 3 ระดับคือ
1. พายุดีเปรสชั่น มีกำลังอ่อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กม./ชม.
2. พายุดีหมุนเขตร้อน มีกำลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 63-117 กม./ชม.
3. พายุไต้ฝุ่น มีกำลังปานกลาง ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 118 กม./ชม.

สภาวะอากาศ ก่อน/ขณะ/หลัง ของพายุหมุนเขตร้อน(ช่วง เดือนกรกฏาคม-กันยายน)
ก่อนเกิดวาตภัย
อากาศดี ลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน
เมฆทวีขึ้นเป็นลำดับ
ฝนตกเป็นระยะๆ
ขณะเกิดวาตภัย
เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดเวลา ลมพัดแน่ทิศ
ตาพายุผ่านมา ลมสงบ ท้องฟ้าแจ่มใส
เมฆเต็มท้องฟ้า ฝนตกเกือบตลอดเวลา ลมพัดกลับทิศ
หลังเกิดวาตภัย
พายุสลายไปแล้วจะทิ้งความเสียหายไว้ตามทางผ่าน อากาศดีขึ้นเป็นลำดับ

การป้องกันพายุหมุนเขตร้อน
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ


                              


พายุทอร์นาโดความเร็วลม 265 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้พัดถล่มเมืองจ็อปลิน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐมิสซูรี ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 116 ศพ บาดเจ็บ 400 คน และตัวเลขอาจเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยยังคงค้นหาผู้รอดชีวิต ซึ่งก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากมีพายุฝนรุนแรงและลูกเห็บตก

พายุทอร์นาโดได้ทิ้งซากความเสียหายเป็นทางยาวเกือบ 9.5 กิโลเมตร กว้าง 1 กิโลเมตร ทำให้บ้านเรือนประชาชน 2 พันหลังได้รับความเสียหาย เช่นเดียวกับศูนย์การแพทย์เซนต์จอห์น’ส รีเจียนนัล ที่ถูกพายุพัดถล่มจนไม่สามารถใช้งานได้ ขณะที่มีรายงานว่าชาวเมืองมีเวลาแค่ 20 นาทีในการหาที่หลบ หลังจากสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น โดยที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ลูกค้า 20 คนต้องเข้าไปหลบในห้องแช่เย็น ทำให้สามารถรอดตายมาได้

พายุทอร์นาโดที่เมืองจ็อปลิน เป็นหนึ่งในพายุทอร์นาโด 68 ลูกที่พัดถล่ม 7 รัฐในภาคตะวันตกตอนกลางของสหรัฐฯช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสร้างความเสียหายตั้งแต่รัฐโอคลาโฮม่า จนถึงรัฐวิสคอนซิน แต่ที่รัฐมิสซูรี่นี้ถือว่าหนักที่สุด และคาดว่าจะเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดของสหรัฐฯในรอบ 58 ปี


ที่มา  http://news.thaiza.com/

                   

ลมพายุ (SUPER WINDS)


ยิ่งรุนแรงมากขึ้น โอกาสที่จะรอดชีวิตก็น้อยเต็มทีอันดับ 3 พบกับพลังมหาวินาศของลม ลมพายุลูกใหญ่ที่หมุนด้วยความเร็วและแรงเหลือ กำลัง มันกวาดทรัพย์สินไปเรียบ และทิ้งลงอย่างกองขยะ พายุหมุนเขตร้อนเฮอริเคน, ใต้ฝุ่น, ไซโคลน และที่ร้ายที่สุด ทอร์นาโด พายุหมุน รูปงวงช้างที่วิ่งด้วยความเร็ว 318 ไมล์ต่อชั่วโมง เพชฌฆาตตัวจริงที่คร่าชีวิตคนและทำลายทรัพย์สินให้แหลกเป็นจุณในพริบตา


ที่มา  http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=myatmosphere&group=17





สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ว่า อังกฤษได้แสดงความวิตกต่อกรณีปรากฎการณ์"พายุสุริยะ"ครั้งใหญ่ร้ายแรงมโหฬารอาจจะเกิดขึ้นในปี 2013 ซึ่งจะฉุดให้โลกทั้งใบตกอยู่ในภาวะระส่ำเป็นอัมพาต นับตั้งแต่ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร คมนาคมล่ม เครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินได้ เกิดวิกฤตการแจกจ่ายอาหาร และระบบอินเตอร์เนททั่วโลกล่ม โดยปรากฎการณ์ดังกล่าวจะร้ายแรงอย่างแน่นอน เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 1859 ซึ่งครั้งนั้น พายุสุริยะได้ส่งผลกระทบอย่างหนักทั่วอเมริกาและยุโรป ทำให้สายโทรศัพท์ไหม้ทั่วทั้งทวีป

ขณะที่สถานการณ์ดังกล่าวส่ง
ผลให้ดร.เลียม ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ สั่งการประชุมฉุกเฉิน เพื่อหาทางรับมือกับภัยวิกฤตดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีการระดมทีมนักวิทยาศาสตร์เพื่อร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์รับมือต่อวิกฤตนี้


รายงานระบุว่า ปรากฎการณ์พายุสุริยะขั้นรุนแรงจะเกิดขึ้น 1 ครั้งในรอบ 100 ปี ซึ่งหากเกิดขึ้นในยุคปัจจบัน เป็นที่คาดว่า จะทำให้เกิดพายุหมอกควันปกคลุมในเมืองใหญ่ ๆ ของยุโรป เช่น กรุงลอนดอน,ปารีส และนิวยอร์ก และประเมินว่า มันจะมีอานุภาพเหมือนระเบิดนิวเคลียร์ระเบิดกลางอวกาศ อย่างไรก็ตาม พายุสุริยะครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อปี 1989 เป็นพายุสุริยะระดับธรรมดา แต่ส่งผลให้เกิดภาวะไฟดับกระทบแคว้นควีเบค ของออสเตรเลีย

ที่มา   http://board.palungjit.com/








 

เมื่อพายุ “นกเต็น” ได้ผ่านพ้นไป ก็มีพายุอีกลูกที่ชื่อว่า “หมุ่ยฟ้า” ที่กำลังอาละวาดแผลงฤทธิ์ในมหาสมุทรแปซิฟิกในชณะนี้ ซึ่งคาดกันว่าพายุลูกนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเหมือนอย่างพายุ “นกเต็น” แต่ประเทศไทยก็จะต้องเจอพายุในปี พ.ศ.2554 นี้อีกประมาณ 19-20 ลูกที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมิใช่พายุทั้งหมดจะพัดถล่มประเทศไทย จากการคาดการณ์จะมีพายุเพียง 2-3 ลูกเท่านั้นที่จะส่งผลกระทบถึงประเทศไทยที่ยังไม่มีใครทราบล่วงหน้าได้ว่าจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหน

สำหรับพายุที่พัดเข้าประเทศไทยนั้น จะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น (Typhoon) ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแหซิฟิก พายุไต้ฝุ่นนี้ไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปีก็ว่าได้ พายุใต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก

หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยชื่อพายุตามแถบภูมิภาคของโลกที่ต่างกันนั้น ที่เรียกว่าเฮอร์ริเคน บ้าง ไซโคลน บ้าง มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งความจริงนั้นก็คือพายุหมุนเขตร้อนชนิดเดียวกัน แต่ที่มีชื่อเรียกต่างกันนั้นก็เป็นไปตามถิ่นที่เกิดของพายุเท่านั้น โดยมีชื่อเรียกกลาง ๆ คือ “พายุหมุนเขตร้อน” (Tropical cyclone)

ขอจำแนกถิ่นที่กำเนิดพายุหมุนเขตร้อนที่มีการเรียกชื่อต่างกันดังนี้ ถ้าเกิดขึ้นในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอร์ริแคน (Hurricane) ถ้าเกิดขึ้นในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone) ถ้าเกิดขึ้นแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี่-วิลลี่ (Willy-willy) ถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon) แต่ถ้าเกิดขึ้นในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)

ใครที่ได้ติดตามชื่อของพายุมานานนม คงพอจะทราบว่าเมื่อก่อนนี้ชื่อของพายุนั้น มักจะเป็นชื่อฝรั่งเป็นส่วนใหญ่ และบางครั้งก็เป็นชื่อที่อ่านแล้วก็รู้ว่าเป็นชื่อของสตรี ซึ่งวัตถุประสงค์คงต้องการให้ฟังดูแล้วอ่อนโยน จนกระทั่ง พ.ศ. 2543 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 14 แห่งที่เป็นสมาชิกของคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) ได้มีการจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในแถบนี้ใหม่ โดยแต่ละประเทศ ได้ส่งชื่อพายุในภาษาของตนประเทศละ 10 ชื่อ รวมทั้งหมด 140 ชื่อ โดยกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นในแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ ได้แก่ กัมพูชา จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

สำหรับ ชื่อพายุที่ประเทศต่าง ๆ ส่งชื่อมาให้นั้นจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ เรียงตามชื่อประเทศตามลำดับของตัวอักษรภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย โดยไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง

สำหรับประเทศไทยนั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง "คณะกรรมการพิจารณารายชื่อและความหมายของชื่อ" ขึ้นเพื่อเสนอชื่อพายุในภาษาไทย จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ ทุเรียน วิภา รามสูร เมขลา มรกต นิดา ชบา กุหลาบและขนุน

พายุ “นกเตน” (Nok-ten) ได้รับรู้กันแล้วจากทางสื่อต่าง ๆ ว่าเป็นชื่อพายุที่ประเทศลาวเป็นผู้ตั้งชื่อไว้เป็นชื่อพายุอยู่ในอันดับ 6 ซึ่ง “นกเตน” ก็คือ นกกระเต็นที่คนไทยเรียกกันนั่นเอง ส่วนพายุ “หมุ่ยฟ้า” (Muifa) เป็นชื่อพายุในอันดับ 7 ที่แผลงฤทธิ์อยู่ในเวลานี้ เป็นชื่อที่ทาง “มาเก๊า” เป็นผู้ตั้งชื่อมีความหมายว่า “ดอกบ๊วย” ส่วนชื่อพายุลูกถัดไปที่เป็นชื่ออันดับ 8 ถึงคิวชื่อของประเทศมาเลเซีย ตั้งชื่อไว้ว่า “เมอร์บุก” (Merbok) ซึ่งเป็นชื่อของนกชนิดหนึ่ง

ชื่อพายุที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ใช้ชื่อว่า “กุหลาบ” อยู่ในอันดับที่ 11 คาดว่าอีกไม่นานเกินรอพายุ”กุหลาบ” คงจะได้ก่อตัวขึ้นมาในมหาสมุทรแปซิฟิก และประชาชนคนไทยจะต้องเฝ้าติดตามดูว่า “พายุกุหลาบ” ที่มีชื่อไทยจะพัดถล่มทำความเสียหายให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ หรือพัดถล่มเข้าประเทศอื่นแทน.
ที่มาhttp://www.en.mahidol.ac.th/thai/news/envi_news_fullv2.php?id=1141