วิธีป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว

การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวทำได้อย่างไร แผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดในต่างประเทศ เกิดเนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในแนวของ แผ่นดินไหวโลก ซึ่งเป็นรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก ส่วนประเทศไทยนั้นไม่อยู่ย่านดังกล่าว แต่มิใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากภัยแผ่นดินไหว นักธรณีวิทยาพบว่า ยังมีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวได้แก่รอยเลื่อนใหญ่ๆ หลายแนวซึ่งยังไม่มีการพิสูจน์ทราบถึง ลักษณะที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้หรือไม่ โดยทั่วไป ในปัจจุบันอันตรายที่เกิดขึ้นของภัยแผ่นดินไหว ในประเทศไทยมักเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดกลาง ส่วนเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวนั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนทั้งในระยะสั้นระยะยาว ให้มีการแบ่งเขตแผ่นดินไหวตามความเสี่ยงที่เหมาะสม สร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตามความเสี่ยงของแผ่นดินไหว ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน และบรรเทาภัยเมื่อก่อนเกิด ขณะเกิด และภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว 





บริเวณมีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวหรืออาจได้รับความเสียหายมากกว่าบริเวณอื่น ได้แก่
1. บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่
2. บริเวณที่เป็นชุมชนหนาแน่น อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวซึ่งมีศักยภาพพอเพียงที่จะทำเกิดความเสียหาย เช่น รอยเลื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งเคยมีประวัติการเกิดแผ่นดินไหว
3. ช่วงเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หากเป็นช่วงที่เหมาะสม บางครั้งในบริเวณหนึ่งแผ่นดินไหว เกิดในเวลากลางวันจะทำความเสียหายมาก แต่บางบริเวณแผ่นดินไหวที่เกิดในเวลากลางคืนอาจทำความเสียหายมากกว่า ขึ้นอยู่กับการทำกิจกรรมหรือการอยู่อาศัย ของมนุษย์ในช่วงเวลานั้นๆ
4. มีการวางแผน และประชาชนมีความรอบรู้ในเรื่องมาตรการป้องกันและบรรเทาภัย แผ่นดินไหวของบริเวณ ที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว หากมีแผนที่ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง สร้างได้แข็งแรงมีมาตรฐาน โดยมีความแข็งแรงสามารถ ป้องกันได้ตามค่าอัตราเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวที่เหมาะสม ตลอดจนรูปร่างที่ดีของสิ่งก่อสร้าง จะสามารถบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สินของชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดี
5. ตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบจากการสั่นสะเทือน มีสภาพทางธรณีวิทยาเป็นเช่นไร บริเวณที่เป็นหินแข็งย่อมมีการดูดซับพลังงาน ความสั่นสะเทือนได้ดีกว่าบริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งมักจะขยายค่าความสั่นสะเทือนได้ดี ดังนั้นอาคารสิ่งก่อสร้างในบริเวณ ที่เป็นดินอ่อนจึงควรมีการพิจารณาในเรื่องการก่อสร้างที่เหมาะสมกับค่าแรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
6. ความยาวนานของการสั่นไหว ถ้ายิ่งมีช่วงเวลามาก ความเสียหายจะเพิ่มขึ้นมาก
7. ความลึกของแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่เกิดลึกๆ จะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่า แผ่นดินไหวตื้น
8. ทิศทางการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน จะมีผลต่อสิ่งก่อสร้างที่อยู่ตรงหรือรับแรงในทิศทางของการเคลื่อนตัว


ข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีตส่วนใหญ่ บ่งบอกถึงความรุนแรงแผ่นดินไหว ได้รับการบันทึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ เช่น ปูม พงศาวดาร ศิลาจารึก เป็นต้น มีแผ่นดินไหวรู้สึกได้โดยทั่วไป ส่วนใหญ่มีตำแหน่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศ ข้อมูลแผ่นดินไหวต่างๆ สามารถค้นจากการบันทึกเหล่านี้ พบว่าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้น ตั้งแต่ 624 ปี ก่อนคริสตศักราช บางครั้งเหตุการณ์รุนแรงจนทำให้เมืองล่ม เช่น เหตุการณ์เมื่อ ปี พ.ศ. 1003 มีการบันทึกว่าเมืองโยนกนครล่ม เนื่องจากการสั่นสะเทือน ส่วนใหญ่เหตุการณ์ได้บันทึกถึงความรู้สึกสั่นไหว ความเสียหาย และความตื่นตระหนก ของผู้คน ปัจจุบันพบว่าแผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทยเกิดขึ้นปีละ 6-8 ครั้ง โดยเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีตำแหน่งศูนย์กลางทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ
ส่วนสาเหตุที่ดูเหมือนว่า ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นนั้น แท้ที่จริงแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นปกติเช่นนี้ตั้งแต่อดีต แต่เนื่องจากการสื่อสารในอดีตไม่รวดเร็ว จึงทำให้การรับรู้เรื่องความสั่นสะเทือนไม่แพร่หลาย ต่างจากปัจจุบันที่การสื่อสารรวดเร็ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแม้ว่าอยู่ห่างไกลอีกมุมหนึ่งของโลก ก็สามารถทราบข่าวได้ทันที อีกทั้งความเจริญทำให้เกิดชุมชนขยายตัวล้ำเข้าไป อยู่ใกล้บริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ชุมชนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่าในอดีต


เรื่องของการพยากรณ์แผ่นดินไหวปัจจุบันยังไม่สามารถกระทำได้ให้ถูกต้องแม่นยำ ทั้งด้านเวลาและสถานที่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ จึงยังจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมอีกในอนาคต การดำเนินการศึกษา เพื่อการพยากรณ์แผ่นดินไหวในปัจจุบันมีการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจวัดของค่า พารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงผิดปกติก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น วัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก วัดค่า แรงเค้น (Stress) และความเครียด (Strain) ของเปลือกโลก วัดก๊าซเรดอน วัดสนามแม่เหล็กโลก วัดค่าความโน้มถ่วงในพื้นที่ต่างๆ วัดคลื่นความถี่วิทยุ รวมถึงการสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ก่อนเกิดแผ่นดินไหว เช่น น้ำใต้ดิน พฤติกรรมของสัตว์ และอื่นๆ เป็นต้น



 ความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริคเตอร์ ประเทศอินเดียเมื่อ มกราคม 2544





ข้อควรปฏิบัติของประชาชน 
           นอกจากการป้องกันการพังทลายของอาคารแล้ว มาตรการเตรียมพร้อมและการเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็มีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้บ้าง กรมอุตุนิยมวิทยาได้จัดทำคำแนะนำการป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหวไว้ดังนี้ (ดูเรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว)

          
การเตรียมพร้อม
          
๑. ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคนทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน
          
๒. ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
          
๓. ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
          
๔. อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน
          
๕. ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง
          
๖. ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน อย่างไร

          เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
          ๑. อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
          ๒. ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและประตูที่จะออกข้างนอก
          ๓. ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา
          ๔. อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น
          ๕. ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
          ๖. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
          ๗. หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง 

          เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง
         
๑. ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป
         
๒. ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ
         
๓. ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
         
๔. ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออกจากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
         
๕. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว
         
๖. อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่
         
๗. สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษ แก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง



อ่านต่อ  http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2014





แผ่นดินไหว (อังกฤษearthquake) เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟโดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดินไหว" (อังกฤษSeismology)

สำหรับพื้นที่เสี่ยงที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงฉบับใหม่ มี 3 กลุ่ม คือ
1. พื้นที่หรือบริเวณที่เป็นดินอ่อนมาก และได้รับผลจากแผ่นดินไหวระยะไกล ได้แก่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
2. จังหวัดในบริเวณทะเลอันดามัน ได้แก่ กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี
3. จังหวัดที่อยู่ใกล้แนวรอยเลื่อน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และกาญจนบุรี

นางสุพินท์ยืนยันว่า แม้กฎกระทรวงจะกำหนดพื้นที่เสี่ยงจากเหตุแผ่นดินไหวไว้หลายพื้นที่ แต่ก็จะไม่กระทบต่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ เพราะนักลงทุนจะมองที่โอกาสและความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจมากกว่า และตึกสูงบางแห่งที่สร้างก่อนที่กฎกระทรวงฉบับนี้ประกาศใช้ ก็ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแรงลม และแรงสั่นสะเทือนไว้ได้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม กฎกระทรวงฉบับนี้ก็จะมีผลให้ต้นทุนก่อสร้างอาคารใหม่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

นางสุพินท์แนะผู้บริหารอาคารสูงด้วยว่า ควรเตรียมแผนและฝึกซ้อมการอพยพประชาชนที่อยู่ภายในอาคาร เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ขณะที่ภาครัฐก็ควรประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้ประชาชนรับทราบอย่างรวดเร็ว รวมถึงการประสานกับหน่วยงานเอกชน และเจ้าของอาคารสูง เพื่อตัดสินใจเรื่องการอพยพประชาชนออกจากตัวอาคารด้วย เนื่องจากปัจจุบันประชาชนใช้ความรู้สึกของตนเองในการตัดสินใจว่าจะลงจากอาคารหรือไม่

นายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม ประธานคณะอนุกรรมการประกันภัยทรัพย์สิน สมาคมประกันวินาศภัย เผยว่า ปัจจุบันคนไทยยังทำประกันน้อยมาก โดยมีการทำประกันรวม 3.6% ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (GDP) แบ่งเป็นประกันชีวิต 2% และประกันวินาศภัย 1.6% ส่วนสาเหตุที่คนไทยยังมีการทำประกันวินาศภัยค่อนข้างน้อย เป็นเพราะประชาชนคิดว่าค่าเบี้ยประกันภัยยังค่อนข้างสูง

นายอานนท์เผยว่า ขณะนี้ผู้ที่ทำประกันอัคคีภัยก็สามารถซื้อประกันแผ่นดินไหวควบคู่ไปได้ด้วย โดยจะเสียค่าเบี้ยประกันตามพื้นที่ ถ้าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงสูง ก็จะจ่ายค่าเบี้ยสูงสุดที่ 500 บาทต่อปีต่อทุนประกัน 1 ล้านบาท แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ ก็จะเสียค่าเบี้ยประกันต่ำสุดที่ 50 บาทต่อปีต่อทุนประกัน 1 ล้านบาท

นายอานนท์ฝากว่า แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ประชาชนที่อยู่ในอาคารสูงหรือพื้นที่เสี่ยงก็ควรเรียนรู้วิธีการป้องกันตนจากเหตุแผ่นดินไหวด้วย ซึ่งการฝึกซ้อมอพยพหนีภัย ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเกิดความเคยชินและเข้าใจวิธีการอพยพที่ถูกต้องได้ ส่วนภาครัฐก็ควรเข้ามาตรวจสอบบันไดหนีไฟของอาคารแต่ละแห่งให้ได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน