วิธีป้องกันภัยจากลมพายุ



  พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

         พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่างๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด

          พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) ต่างๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ

          1. พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

          2. พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น แต่ถ้าเกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)

          3. พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)

          4. พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง 

          5. พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

          6. พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง


พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด

          ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้ 

          - พายุดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

          - พายุโซนร้อน (tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต (63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) 

          - ไต้ฝุ่น (typhoon) ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ขึ้นไป

          สำหรับประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก "พายุหมุนเขตร้อน" ที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก และพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเราเรียกว่า "ไซโคลน" แม้พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจะไม่เข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง แต่ก็สามารถก่อความเสียหายต่อประเทศไทยได้เช่นกัน เมื่อทิศการเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณใกล้ประเทศไทยทางด้านตะวันตก ในกรณีของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้นั้น จะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทยในบริเวณต่างๆ ของประเทศแตกต่างกันตามฤดูกาล

          พายุหมุนเขตร้อน หรือ พายุไซโคลน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่สามารถทำความเสียหายได้รุนแรง จะต้องมีความเร็วลมมากกว่า 64 นอต (30 เมตร/วินาที, 74 ไมล์/ชั่วโมง หรือ 118 กิโลเมตร/ ชั่วโมง) ขึ้นไป และมักจะมี "ตาพายุ" ศูนย์กลางหรือที่เรียกว่า "ตา" เป็นบริเวณที่มีลมสงบ อากาศโปร่งใส โดยอาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อย ล้อมรอบด้วยพื้นที่บริเวณกว้างรัศมีหลายร้อยกิโลเมตร ตาพายุนี้จะเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นวงกลมเล็กที่ไม่มีเมฆ รอบตาจะมีกำแพงล้อมที่มีขนาดกว้างประมาณ 16-80 กิโลเมตร เป็นบริเวณที่มีพายุฝนและลมหมุนที่รุนแรงมากหมุนวนรอบๆ ตา 


ระดับความรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมเกิน 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่

- ระดับที่ 1 มีความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างเล็กน้อย ไม่ส่งผลต่อสิ่งปลูกสร้าง มีน้ำท่วมขังตามชายฝั่ง  

          - ระดับที่ 2 มีความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างเล็กน้อย ทำให้หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนเสียหายบ้าง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง  

          - ระดับที่ 3 มีความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก น้ำท่วมขังถึงพื้นบ้านชั้นล่าง 

          - ระดับที่ 4 มีความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายล้างสูง หลังคาบ้านเรือนบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นบ้าน  

          - ระดับที่ 5 มีความเร็วลมมากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะทำลายล้างสูงมาก หลังคาบ้านเรือน ตึกและอาคารต่างๆ ถูกทำลาย พังทลาย น้ำท่วมขังปริมาณมาก ถึงขั้นทำลายทรัพย์สินในบ้าน อาจต้องประกาศอพยพประชาชน 



อันตรายของพายุ
1. ความรุนแรงและอันตรายอันเกิดจากพายุไต้ฝุ่น


          เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น พัดผ่านที่ใดย่อมทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั่วไป เช่น บนบกต้นไม้จะล้ม ถอนราก ถอนโคน จะทำให้เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตาย เรือกสวนไร่นาเสียหายหนักมาก เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช

          ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ๆ ขนาดหมื่นตันอาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายล่มจมสิ้น ไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงโดยคลื่นและลม
2. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุโซนร้อน
          พายุโซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ฉะนั้น อันตรายอันจะเกิดจากการที่พายุนี้พัดมาปะทะลดลงในระดับรองลงมาจากพายุไต้ฝุ่น แต่ถึงกระนั้นก็ตามความรุนแรงที่จะทำให้ความเสียหายก็ยังมีมากเหมือนกัน ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจะจมเรือขนาดใหญ่ๆ ได้ ต้นไม้ถอนรากถอนโคนดังพายุโซนร้อนที่ปะทะฝั่งแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช 

          ถ้าการเตรียมการรับสถานการณ์ไม่เพียงพอ ไม่มีการประกาศโฆษณาให้ประชาชนได้ทราบ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายอย่างทั่วถึง ไม่มีวิธีการดำเนินการที่เข้มแข็งในการอพยพ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ในระหว่างเกิดพายุ การสูญเสียก็ย่อมมีการเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สมบัติของประชาชน
3. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุดีเปรสชั่น
          พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกปานกลางทั่วไป ตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่งๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ไม่ปลอดภัยเสียทีเดียว ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้ 

          และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน ฉะนั้น เมื่อได้รับทราบข่าวว่ามีพายุดีเปรสชั่นขึ้นในทะเลก็อย่าได้ไว้วางใจว่าจะมีกำลังอ่อนเสมอไปอาจจะมีอันตรายได้เหมือนกัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนานๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากภายุได้ผ่านไปแล้ว
4. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุฤดูร้อน
          พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่เกิดขึ้นโดยเหตุและวิธีการต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อมๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนที่ทนกำลังแรงลมไม่ไหวพังทะลายกระเบื้องหลังคาปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตกได้ ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงลูกเห็บอาจจะตกถูกผู้คนได้รับความบาดเจ็บและบ้านช่องเสียหายได้



 








 การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ
  1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา

                            3. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร 

                                     4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น 

                 5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร 



อ่านต่อ    http://hilight.kapook.com/view/23948


สตอมเสิร์ทในไทย
ผลที่ตามมาเมื่อ มีสตอมเสิร์ทหรือคลื่นพายุซัดฝั่งคือความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งชีวิตและทรัพย์สินในบริเวณชายฝั่ง และในบางครั้งก่อให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์แถบนั้นไปเลย ภาพที่เห็นชัดที่สุดที่เคยเกิดในประเทศคือเมื่อคราวเกิดพายุ โซนร้อนแฮเรียต พัดเข้าฝั่งที่ แหลมตะลุมพุก อ. ปากพนัง จ. นครศรีธรรมราชในปีพ.ศ. 2505 แม้จะมีระดับความแรงของลมเป็นแค่ พายุโซนร้อนเมื่อเมื่อพัดเข้าหาฝั่งความรุนแรงได้เพิ่มระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ผลของความพินาศจากพายุคราวนั้นถือว่าเป็นความรุนแรงครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติของประเทศไทยเลยทีเดียว

ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าในบ้านแหลมตะลุมพุกขานกันสืบต่อมาว่าพายุในครั้งนั้น มีคลื่นสูงเทียมยอดมะพร้าว โดยผู้ที่รอดชีวิต หลายรายได้ เกาะยอดมะพร้าวโหนโตงเตงเมื่อพายุและสตอมเสิร์ทวิ่งถลาเข้าหาฝั่ง ทำให้เกิดเป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ของไทย ความรุนแรงเกิดขึ้นถึงขั้น ถึงจมโบถส์ทั้งหลังให้จมลงใต้ท้องมหาสมุทร และทิ้งไว้แค่ร่องรอยของความย่อยยับของชุมชมชาวบ้านแหลมตะลุมพุก คำพูดที่เล่าลือเล่าอ้างมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่คงไม่เกินเลยมามายนักเพราะ จากหลักฐานจาก พบว่า พายุหมุนเขตโซนร้อนแฮเรียต มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 300 กิโลเมตร มีความเร็วลม 180 - 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในการเคลื่อนที่ 92.622 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีผู้เสียชีวิต 911 คน สูญหายอีก 142 คน บาดเจ็บสาหัส 252 คน บ้านเรือนเสียหายเฉียดครึ่งแสนหลังคาเรือน และส่งผลให้ประชาชน ไม่มีที่อยู่อาศัยอีกกว่าหมื่นคน พายุโซนร้อนแฮเรียดได้สร้างความเสียหายให้กับภาคใต้ แนวชายฝั่งตะวันออกมากถึง 9 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบในโศกนาฎกรรมครั้งนั้น



หรือเมื่อคราวที่พายุเกย์ซัดเข้าหาฝั่งจังหวัดชุมพรในปีพ.ศ. 2532 ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เรารับรู้ถึงภยันตรายของ คลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอมเสิร์ท หรือในปีพ.ศ. 2540 พายุลินดา พัดถล่มชายฝั่งของชุมพร – เพชรบุรีก็เช่นกัน หล่านี้คือความพิโรจที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่เรียกว่าสตอมเสิร์ท

สำหรับกรุงเทพมหานครเองไม่เคยได้รับอันตรายจากสตอมเสิร์ทโดยตรง ด้วยสภาพภูมิประเทศ มีทะเลชายฝั่งน้อย แต่ผลกระทบที่กรุงเทพมหานครได้รับมักจะเป็นระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเกิดพายุ ในบริเวณอ่าวไทย เช่นในคราวที่เกิดน้ำท่วมหนักในปี 2504

สภาพทางภูมิศาสตร์ของอ่าวไทยตอนบน ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกิดสตอมเสิร์ทครั้งรุนแรงเท่าใดนักเนื่องจากอ่าวไทยตอนบนมักจะมีพายุที่ไม่รุนแรกมากนักโดยมักจะมีความเร็วลมน้อยกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โดยหากเกิดสตอมเสิร์ทขึ้นในพื้นที่บริเวณกรุงเทพจริงๆก็จะส่งพบกระทบแต่เพียงบางส่วนเท่านั้น ในบริเวณเขตบางนา ธนบุรี ในบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียน – คลองสนามชัยและ บริเวณ ช่วงเหนือคลองสนามชัย ถึง ถ.พระราม 2




          การค้นพบครั้งนี้ส่งผลให้จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเราเพิ่มขึ้นเป็น 729 ดวง โดย 60 ดวงจากทั้งหมดเป็นการค้นพบโดยทีมนักวิจัยเคปเลอร์ ที่ส่งกล้องเคปเลอร์ขึ้นสู่อวกาศในเดือนมีนาคมปี 2552 เพื่อตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของเรา ผ่านการตรวจการเปลี่ยนแปลงของแสงของดาวฤกษ์กว่า 150,000 ดวง ในกลุ่มดาวหงส์และกลุ่มดาวพิณ

          พายุสุริยะ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ชาวไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูนัก แต่สำหรับที่ประเทศอังกฤษ มีรายงานข่าวว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังหวาดวิตกถึงปรากฏการณ์ พายุสุริยะ เป็นอย่างมาก และถึงขั้นที่ทำให้ ดร.เลียม ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอังกฤษ สั่งประชุมฉุกเฉิน เพื่อหาทางรับมือหากเกิด พายุสุริยะ ขึ้นเลยทีเดียว

          นั่นเพราะเคยมีการคาดการณ์กันว่า ปรากฏการณ์ พายุสุริยะ จะพุ่งเข้าสู่โลกครั้งต่อไปในช่วงปี ค.ศ 2012 และจะนำมาซึ่งความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะทำให้ระบบการสื่อสารและคมนาคม รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตล่มไปทั่วโลก ส่งผลต่อระบบไฟฟ้า การบิน เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี ค.ศ.1859 ที่ พายุสุริยะ ได้เข้าถล่มประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอาจจะทำให้เกิดพายุหมอกควันปกคลุมไปทั่วเมืองใหญ่ ๆ ของยุโรปด้วย

อ่านต่อ http://hilight.kapook.com/view/52424